วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอรืพื้นฐาน 2


ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน 2

           
               ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าวิชาคอมพิวเตอร์พื้ยฐาน2นี้มีความสำคัญ ไม่ใช่ว่าจะเรียนๆเล่นๆ เพราะถ้าเราอยู่ม.3ก็อาจจะไม่มีการเรียนการสอนวิชาคอมฯนี้อีก เพราะฉะนั้น ณ ขณะนี้ เราควรเก็บเกี่ยวความรู้ให้มากที่สุด แต่ก็มีบ้างที่ข้าพเจ้าแบเล่นเฟสบุ๊คบ้าง เล่นเกมส์บ้าง แต่คุณครูพุทธชาติก็ไม่ค่อยว่า แต่จะตักเตือนแทน ถ้าเราทำงานเสร็จ เวลาว่างเราก็จะเล่นอะไร ครูก็ป่อย ขอแค่เราทำงานให้เสร็จ ซึ่งข้าพเจ้าชอบวิชานี้มาก แต่ถ้าไปอยู่ม.3 ก็คงไม่ได้เรียน เศร้าแป๊บ!! แต่เวลาเล่นเน็ตทีไรเน็ตชอบหลุด แต่ข้าพเจ้าก็ได้เล่นคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่สุดในห้อง ก็คือคอมพิวเตอร์ของคุณครู ^^ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน2ได้สอนให้เราได้เรียนรู้ Blogger ซึ่งก่อนหน้านั้นข้าพเจ้ายังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร แต่โปรแกรมนี้ทำให้ชาวต่างชาติ คนในประเทศไทย คนต่างประเทศ ได้มาอ่านข้อมูลข่าวสารที่ข้าพเจ้าเผยแพร่ ทำให้บล็อกกอร์ของเรามีผู้เยี่ยมชมเป็นอย่างมาก การลงข่าวสารในบล็อกไม่ใช่แค่ให้ชาวต่างชาติเห็นข้อมูลของเรา และคุณครูได้แจกคะแนนอีกด้วย

โปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก

             โปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ข้าพเจ้ารู้จักและเข้าใจค่อนข้างดี คือ  โปรแกรม Photoscape 



              โปรแกรมโฟโต้สเคป เป็นโปรแกรมที่เราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งโปรแกรมนี้ยังมีการอัพเดตอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญคือมีเมนูเป็นภาไทย ซึ่งตอนนี้โปรแกรมโฟโต้สเคปก็เป็นโปรแกรมที่กำลังฮิตมาก
             โปรแกรมโฟโต้สเคป เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพ แก้ไขรูปภาพ สร้างภาพสไลค์ ทำภาพเคลื่อนไหว บันทึกจอภาพได้อีกด้วย   ยิ่งตอนนี้มีคนหันมาตกแต่งปก Facebook Timeline เยอะขึ้น   โปรแกรมโฟโต้สเคปก็สามารถทำได้และง่ายด้วย

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

"เมื่อข้าพเจ้าเจอปัญหา"

การแก้ปัญหาของข้าพเจ้า คือการหาคำตอบของปัญหา มีวิธีการต่างๆ เช่น ถามผู้รู้ หรือผู้มีประสบการณ์ ลองผิดลองถูก จนกว่าจะพบคำตอบที่ถูกต้อง
"เมื่อข้าพเจ้าเจอปัญหา" ข้าพเจ้าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยระบบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1. หาประเด็นสำคัญของปัญหา
2. หาแนวทางการแก้ไขปัญหาแต่ละประเด็น
3. พิจารณารายละเอียดในการแก้ไขปัณหานั้น เหมาะสมหรือไม่
4.  วิธีการที่เราหามานั้น ถูกต้องหรือไม่
5. ทำตามวิธีเดิม ซ้ำไปซ้ำมาจนเจอคำตอบที่ถูกต้อง

โลกไร้พรมแดนตามความคิดของข้าพเจ้า

       
 โลกไร้พรมแดน คือ โลกที่เกิดจากจินตนาการ โลกทัศน์ที่กว้างไกล สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูล ค้นคว้าข้อมูล หาความรู้ ด้วยระบบ w.w.w. หรือสื่อสารผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเลกทรอนิกส์ (E-mail) สามารถคุยกันโดยตรงด้วยระบบแชท ทั้งผ่านการพิมพ์ทางแป้นพิมพ์ และด้วยเสียงผ่านไมโครโฟน

         โลกไร้พรมแดนตามความคิดของข้าพเจ้า คือ การที่โลกของเรามีโดเรม่อนก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทวีปได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะโดเรม่อนมีของวิเศษ ในคสามคิดของข้าพเจ้า โดเรม่อนต้องใช้ไทม์แมชชีนในการบินข้ามโลก ข้ามทวีปได้ ในโลกอนาคต อาจจะไม่ต้องใช้ ระบ www. แต่มาใช้ไทม์แมชชีนของโดเรม่อนแทนก็เป็นได้

แนวมางในการป้องกันภัยจากการใช้อินเตอร์เน็ต

แนวมางในการป้องกันภัยจากการใช้อินเตอร์เน็ต

ในชีวิตประจำวันของฉัน ต้องใช้อินเตอร์เน็ต ในการเรียน การสืบค้นข้อมูล การติดต่อสื่อสารกันผ่านทาง Facebook Line Twitter ฯลฯ และต้องสืบค้นข้อมูลจากโปรแกรมค้นหายอดนิยมปัจจุบัน คือ Google เพื่อหาข้อมูลที่เราไม่รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ 
ดิฉันมีแนวทางในการป้องกันภัยจากการใช้อินเตอร์เน็ต ดังนี้
1. ในการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ควรระวังข้อมูลบางอย่างที่หาได้จากอินเตอร์เน็ต ควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนว่าข้อมูลนั้น น่าเชื่อถือได้หรือไม่
2. ควรตรวจสอบว่าข้อมูลที่ไดจากอินเตอร์เน็ตนั้น ใครเป็นผู้จัดทำข้อมูลนั้นขึ้นมาและมีคุณวุฒิอย่างไร
3. ในการติดต่อสื่อสารกันในโลกออนไลน์นั้น ในกรณีที่สำหรับคนที่ไม่รู้จัก ถ้ามีการนัดแนะพบเจอกัน เราไม่ควรไป เพราะอาจจะถูกหลอกลวงก็ได้
4. ไม่ควรนำข้อมูลของผู้อื่นมาเผยแพร่
5. ไม่ควรใช้ภาษาวิบัติ
6. ไม่คสรส่งจดหมายลูกโซ่ต่อกันเป็นทอดๆเพราะเราอาจจะเสี่ยงต่อความผิดทางกฎหมายได้

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต


ลินดา เฮอร์นดอน
ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การ ทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอิน เทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้
· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
 จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำตกทีลอซู


น้ำตกทีลอซู เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มฝาง น้ำตกทีลอซู
น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ" ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดู อื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู" ประวัติ น้ำตกทีลอซู ทีลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อ. ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจ น้ำตกทีลอซู ก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่ท้าทายของนักเดินทาง "ทีลอซู" หรือออกเสียงตามภาษาภาษาปะก่าหญอว่า "ที-หล่อ-ชู" ที แปลว่า น้ำ, หล่อ แปลว่า ไหล และ ชู แปลว่า ทิ้มแทง (หล่อ-ชู เป็น กิริยา หมายถึง การไหลลงมาอย่างแรงของน้ำปะทะกับพื้นเบื้องล่าง) ดังนั้นจึงแปลว่าน้ำตก (บางท่านบอกว่าแปลว่า น้ำตกดำ คำว่า "ดำ" ไม่ได้ออกเสียงว่า ซู แต่ออกเสียงคล้ายๆกัน ไม่รู้จะเขียนเป็นอักษรไทยอย่างไร เพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงให้ฟังนะครับ ถึงจะแยกความแตกต่างได้) น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ต. แม่ละมุ้ง อ. อุ้มผาง การค้นพบที่กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ"เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วม กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว